วันศุกร์ที่ 30 กรกฎาคม พ.ศ. 2553

บันได 5 ขั้นสู่ชีวิตใหม่ที่มีค่าและเป็นสุข

 บันไดขั้นที่ 1 มองตัวเองว่าดีและมีค่าทุกวัน 
ใน แต่ละวันให้นึกถึงความดี และความโชคดีของตนเอง เริ่มต้นด้วยการตื่นนอนตอนเช้า ให้ยิ้มกับตัวเอง และนึกว่าโชคดีที่ได้ตื่นขึ้นมาแล้ว ให้นึกถึงความดีของตนเอง ที่เคยทำมาแล้วในอดีต (ที่ สามารถนึกได้ง่ายๆ) เช่น เคยทำบุญ เคยช่วยคนที่อ่อนแอกว่า เคยสงเคราะห์สัตว์ ฯลฯ คิดว่าตัวเองดี และมีคุณค่าที่ได้เคยทำสิ่งดีๆ และให้นึกซ้ำๆ จะได้เกิดความเชื่อตามที่นึกนั้น คุณก็จะเกิดความอิ่มเอิบใจ และเชื่อว่าตัวเองมีความดี ความเก่ง ตามความเป็! นจริงในขณะนั้นด้วย คุณจะเกิดความอยากมีชีวิตอยู่ และสร้างสิ่งที่ดีๆ ให้กับชีวิตต่อไป และต้องอวยพรตัวเองเสมอๆ อย่าแช่ง หรือตำหนิตัวเอง และอย่ารอให้คนอื่นมาชื่นชมคุณ ซึ่งมักจะไม่ได้ดั่งใจ หรือได้มาก็ไม่สมใจ

บันไดขั้นที่ 2 มองคนอื่นดี มองโลกในแง่ดี
ขั้น นี้คุณจะต้องมองว่า ทุกๆ คน มีขีดจำกัดของความสามารถ ความดี ความเก่งกันทุกคน ตามความเป็นจริงของเขา ซึ่งไม่เท่ากัน และไม่เหมือนกันเลย ส่วนความไม่ดี หรือไม่เก่งของเขา (ซึ่ง มีกันทุกคน) ปล่อยให้เป็นเรื่องของเขาไป ให้มองเฉพาะส่วนที่ดีของเขาเท่านั้น ถ้าคุณทำได้เช่นนี้ คุณก็จะเป็นคนที่มองอนาคต และชีวิตดี มีความหวังที่ดีในชีวิตตลอดเวลา สองสิ่งนี้ ถ้ าคุณทำเป็นนิสัย คุณจะพบว่า โลกนี้มีสิ่งที่ดีๆ และไม่ยอมแพ้ต่ออุปสรรคต่างๆ และท้ายที่สุดก็จะกลายเป็นสุขนิยมทั้งชีวิต 

บันไดขั้นที่ 3 ทำวันนี้ให้ดีที่สุด
 คือ การอยู่กับปัจจุบัน ทำกิจกรรมในวันนี้และเวลานี้ให้ดีที่สุด ทำได้แค่ไหนเอาแค่นั้น ไม่ทุกข์ร้อน หรือคาดหวังกับผลลัพธ์ของมัน ไม่ว่าจะสมใจ หรือไม่สมใจก็ตาม จงชื่นชมในความตั้งใจ ทำเต็มความสามารถของตนเอง และคิดต่อว่า ในอนาคตจะต้องทำให้ดีกว่านี้ นอกจากนั้น คุณต้องเลิกจดจำ หรือนึกถึงเรื่องที่ไม่ดีที่เกิดกับคุณในอดีต เพราะการจดจำเรื่องราวที่ไม่ดีในอดีต เท่ากับคุณไปสะกิดแผลในใจ และจะทำให้คุณเจ็บป! วดมากยิ่งขึ้น จนส่งผลให้ปัจจุบันคุณไม่มีความสุข และกลัวว่าอนาคตจะเกิดสิ่งที่ไม่ดีซ้ำๆ อีก

วันพุธที่ 28 กรกฎาคม พ.ศ. 2553

ตำราชีวิตประจำวัน By สุทธิชัย หยุ่น‏

สูตรนี้ว่าเป็น Lifebook หรือเป็นตำราแห่งชีวิต
๑. ดื่มน้ำให้มาก
๒. กินอาหารเช้าเหมือนราชา, รับประทานอาหารเที่ยงเหมือนเจ้าชายและเมื่อถึงอาหารเย็น,ให้วาดภาพว่าตัวเองเป็นแค่ขอทาน (แปลว่ากินมือหนักที่สุดตอนเช้า, และกลาง ๆ ตอนเที่ยง และตกเย็นแล้ว, ทำตัวเป็นยาจก, ไม่มีอะไรจะกิน...สุขภาพจะเป็นอย่างเทวดาทีเดียวเชียวแหละ)
๓. กินอาหารที่โตบนต้นและบนดิน, พยายามหลีกเลี่ยงอาหารที่ผลิตจากโรงงาน
๔. ใช้ชีวิตบนหลักการ 3 E...นั่นคือ energy หรือพลังงาน, enthusiasm หรือกระตือตือร้น และ empathy คือเอาใจเขามาใส่ใจเราให้มาก ๆ
๕. หาเวลาทำสมาธิหรือสวดมนต์เสมอ
๖. เล่นเกมสนุก ๆ เสียบ้าง, อย่าเครียดกันนักเลย
๗. อ่านหนังสือให้มากขึ้น..ตั้งเป้าว่าปีนี้จะอ่านมากกว่าปีที่ผ่านมา
๘. นั่งเงียบ ๆ อยู่กับตัวเองสักวันละ 10 นาทีให้ได้
๙. นอนวันละ 7 ชั่วโมง
๑๐. เดินสักวันละ 10 ถึง 30 นาที, แล้วแต่จะสะดวก, ไม่ต้องเครียดกับมัน, วันไหนไม่ได้เดิน, ก็อย่าหงุดหงิดกับมัน
๑๑. ระหว่างเดิน, อย่าลืมยิ้ม

นี่เป็นเรื่องราวเกี่ยวกับสุขภาพกายและใจที่ผสมปนเปกันได้เสมอ, หากทำเป็นกิจวัตร,
ชีวิตก็จะแจ่มใส,แต่อย่าทำให้ตัวเองเครียดด้วยการรู้สึกผิดถ้าหากวันไหนทำไม่ได้ตามที่วางกำหนดเวลาของตนเอาไว้ วันนี้ทำไม่ได้, พรุ่งนี้ทำก็ได้ แต่การไม่เอาจริงเอาจังกับตัวเองเกินไปไม่ได้หมายถึงการผัดวันประกันพรุ่ง, ซึ่งเป็นคนละเรื่องกัน


วันจันทร์ที่ 26 กรกฎาคม พ.ศ. 2553

จุดอ่อนของคนไทย 10 ประการ

บทวิเคราะห์จุดอ่อนของคนไทย 10 ประการ โดยวิกรม กรมดิษฐ์
วิกรม กรมดิษฐ์” ผู้ก่อตั้งและประธานบริหาร บริษัท อมตะ คอร์ปอเรชัน จำกัด (มหาชน) เจ้าของโครงการนิคมอุตสาหกรรมอมตะนคร พร้อมทั้งมีบริษัทในเครืออมตะอีกหลายแห่ง รวมถึงที่อยู่ในเวียดนามด้วย เขาพลิกผันตัวเองจากครอบครัวที่ทำอาชีพค้าขายในจังหวัดกาญจนบุรี มาสู่เจ้าของอาณาจักรนิคมอุตสาหกรรม

ความคิดเห็นของ วิกรม กรมดิษฐ์ เจ้าพ่ออมตะนครที่เคยพูดถึง “จุดอ่อน” ของคนไทยไว้ 10 ข้อคือ   

1. คนไทยรู้จักหน้าที่ของตัวเองต่ำมาก   โดยเฉพาะ หน้าที่ต่อสังคม เป็นประเภทมือใครยาวสาวได้สาวเอา เกิดเป็น ธุรกิจการเมือง ธุรกิจราชการ ธุรกิจการศึกษา ทำให้ประเทศชาติล้าหลังไปเรื่อยๆ   

2.  การศึกษายังไม่ทันสมัย   คนไทยจะเก่งแต่ภาษาของตัวเอง ทำให้ขาดโอกาสในการแข่งขันกับต่างชาติในเวทีต่างๆ ไม่กล้าแสดงออก
ขี้อายไม่มั่นใจในตัวเอง เราจึงตา มหลังชาติอื่น จะเห็นว่าคนมีฐานะจะส่งลูกไปเรียนเมืองนอกเพื่อโอกาสที่ดีกว่า  

3.  มองอนาคตไม่เป็น   คนไทยมากกว่า 70% ทำงานแบบไร้อนาคตทำแบบวันต่อวัน แก้ปัญหาเฉพาะหน้าไปวันๆ น้อยคนนักที่จะทำงานแบบเป็นระบบ เป็นขั้นเป็นตอ มีเป้าหมายในอนาคตที่ชัดเจน  

4.  ไม่จริงจังในความรับผิดชอบต่อหน้าที่   ทำแบบผักชีโรยหน้าหรือทำด้วยความเกรงใจ ต่างกับคนญี่ปุ่นหรือยุโรปที่จะให้ความสำคัญกับสัญญา 
หรือข้อตกลงอย่างเคร่ง ครัด เพราะหมายถึงความเชื่อถือในระยะยาว ปัจจุบันคนไทยถูกลดเครดิตความน่าเชื่อถือด้านนี้ลงเรื่อยๆ